วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Dyckia " ความเหมาะสม "


" เมื่อไร แบบไหน "
โดย Dyckia From " Q "


วันนี้จะมาตอบคำถามที่หลายๆท่านมักถามเข้ามาเสมอนะครับ ว่า " เมื่อไรที่จะเปิดพลาสติกคลุมออกได้ "
และอีกคำถามที่พบบ่อยคือ ดูแลความชื้นอย่างไรจึงจะเหมาะสม กับกล้าไม้ดิกเกียของเรา วันนี้มีคำตอบครับ

รูปที่ 1 ต้นกล้าดิกเกียที่ผมเอาพลาสติกคลุมออก ขนาดประมาณนี้ครับ อายุเดือนเศษ ต้องมีเวลาดูแลนะครับ
ใบเลี้ยง 2 ใบแรกแข็งแรงดีเป็นพอครับ ในรูปเอาพลาสติกคลุมออกมาได้ 1 อาทิตย์ ออกแดด 100 ช่วงเช้า


รูปที่ 2 ลักษณะวัสดุเพาะ ประมาณในรูปที่เห็นถือว่าแห้งไปนะครับ แต่ขนาดนี้อยู่ได้อีก 2-3 วันก็ยังไม่ตายครับ


รูปที่ 3 วัสดุปลูกในรูปถือว่าความชื้นพอเหมาะ การเปิดพลาสติกคลุมออกไว จะหลีกเลี่ยงภาวะถั่งงอกได้ครับ


รูปที่ 4 ให้น้ำโดยพ่นละอองจากด้านบน หรือรองน้ำจากก้นกระถางก็ได้ครับ วิธีที่ 2 จะอยู่ได้ร่วมอาทิตย์ครับ
XDyckia Arizona F1 X กัวก้า งอกและรอดมาได้ 10 ต้น ใบอ้วนหนาเป็นลิ่มสามเหลี่ยมเลยครับ น่าสนใจ ^__^


รูปที่ 5 XDyckia Arizona F2 X กัวก้า ลองชมครับ ใบหนามากมายครับ ได้พ่อมาเต็มๆ งอกมา 2 ต้นจริงๆ


รูปที่ 6 XDyckia ( reitzii rubra X Arizona ) X กัวก้า เลี้ยงอย่างที่อธิบาย จะได้ฟอร์มกระชับ โตไวครับ 20 ต้น


รูปที่ 7 XDyckia Brittle Star F3 X กัวก้า นี่ก็เล็กมาก แต่ใบจริงเริ่มมาแล้วครับ 10 ต้นจ้า...


รูปที่ 8 XDyckia 7a X กัวก้า งอกมา 4 ต้นเองครับ ดูแล้วน่าห่วงแค่ 1 ต้นด้านซ้ายครับ ^__^


รูปที่ 9 Dyckia distachya rubra X macedoi ต้นกล้าจะใหญ่และแดงกว่า distachya aurea มีรูปเปรียบเทียบ
ลองสังเกตุดูคุณภาพของเมล็ดนะครับ อัตราการงอก แทบจะทุกเมล็ดครับ นี่คือข้อดีของเมล็ดสดใหม่ครับ


รูปที่ 10 Dyckia distachya rubra X Arizona F1 คาดว่าเป็นที่สุดได้ไม่ยากอีกตัวหนึ่งครับ ^__^
สิ่งสำคัญอีกอย่างในการงอกคือ เราควรเก็บไม้ที่ติดฝักแล้วในร่มแดดส่องถึง อย่าให้เมล็ดโดนฝนครับ


รูปที่ 11 Dyckia distachya rubra X Bill Baker ขนาดจะเล็กลงมานิดนึงครับ เพราะโดน Bill Baker ไม้เล็กมาตัด
การทำเมล็ดที่มีคุณภาพ จะมีอัตราการงอกที่ดี ดังรูป อีกอย่างผู้รับไปจะได้มีกำลังใจ และไม่ด่าเราด้วย ^__^


รูปที่ 12 Dyckia distachya aurea X Bangkok Star ดูขนาดเปรียบเทียบกับ 3 รูปก่อนหน้านะครับ ชัดเจน


รูปที่ 13 Dyckia distachya aurea X macedoi เล็กเขียว กับ เล็กลาย มาเข้ากันครับ ^__^


รูปที่ 14 Dyckia distachya aurea X Arizona F1 เขียวมาเข้ากับแดงหนามขาวสวย ขอเป็นที่ 2 พอครับ คู่นี้


รูปที่ 15 Dyckia distachya aurea X fosteriana Silver Queen อยากได้ กลมเล็กขาวๆ อิ อิ


รูปที่ 16 Dyckia distachya aurea X dawsonii อาจจะออกมาเป็น delicata ขนาดย่อมเยาว์ก็อาจเป็นได้ครับ


รูปที่ 17 Dyckia Arizona F1 X dawsonii จับตามองคู่นี้ให้ดีๆเลยครับ หน่วยศูนย์ของผม ^__^


รูปที่ 18 Dyckia dawsonii X Arizona F1 ตัวสลับก็ต้องทำไว้ครับ สังเกตุอัตราการงอกที่น้อยนะครับ เพราะอะไร
เพราะว่า เมื่อผสมติดฝักแล้ว ไม่ได้เก็บไม้เข้าร่ม ปล่อยให้ฝักโดนแดดโดนฝนสลับกันไปมา เมล็ดจะด้อยคุณภาพ


ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูครับ หวังว่าพอจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ ถ้าทำได้... ผลคือรูปที่ 0 สวยงามครับ


" ความเปลี่ยนแปลง "


" ปรับตัวและเติบโต "
โดย Dyckia From " Q "


มาชมไม้ในสวนที่ปรับตัวและเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับนะครับ อาจจะบอกไม่ได้ว่าจะสวยหรือไม่
แต่แค่ได้เห็นพัฒนาการของพวกเค้า เราก็รู้สึกดีและมีความสุขไปกับสิ่งที่ได้เห็นได้ชมแล้วครับ ^__^

รูปที่ 1 คู่ผสม Dyckia delicata type form X fosteriana หนามหงิกดีครับ 


รูปที่ 2 คู่ผสม Dyckia delicata type form X fosteriana ต้นนี้กลมมากมาย


รูปที่ 3 Dyckia Toothy F2 Silver Clone ไม้ที่ผมมองว่าสวยมากๆตัวหนึ่งครับ แต่คนอื่นๆมอง.....


รูปที่ 4 ลูกไม้ใน pot รวมครับ ต้นไหนโดดเด่น ก็จะเห็นชัดแต่ไกลครับ


รูปที่ 5 นี่ก็หนามใหญ่ โดดออกมาชัดเจนครับ


รูปที่ 6 เมล็ดไม้ species ฝักอย่างใหญ่ครับ เด็ดมาใช้แทนลูกหินไว้ยิงนกได้เลยครับ


รูปที่ 7 Dyckia Arizona F2 # Q-08 แดงๆ เขียวๆ ขาวๆ


ประมาณนี้ครับ ชมกันเรื่อยๆสบายๆนะครับ ขอให้มีความสุขในการเลี้ยงไม้หนามครับ ^__^


วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ยามเช้า กับน้ำค้างและสายฝน # 2


Dyckia ยามเช้า # 2
โดย Dyckia From " Q "


มาชมภาคต่อของ Dyckia ยามเช้ากันนะครับ ไม้ถึงแม้ว่าจะรับแดด 100 มาเต็มๆทั้งวัน จนใบซีดเปลี่ยนสีไป
เมื่อผ่านช่วงเวลาค่ำคืน ที่มีน้ำค้างและความชื้น เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ ที่จะทำให้ดิกเกียสดชื่นขึ้นใหม่ยามเช้า

รูปที่ 1 " Bone " ยามเปียกฝนและน้ำค้างครับ


รูปที่ 2 ไม้สวย ไม่ว่าสภาพไหน เราก็ยังคงมองเห็นความสวยอยู่ครับ ^__^


รูปที่ 3 Dyckia hebdingii ฟอร์มสวยมากครับ คนเลี้ยงดิกเกีย ต้องมีครับต้นนี้


รูปที่ 4 BS X Ari " TC " โตขึ้นเรื่อยๆครับ


รูปที่ 5 เปียกปอนไปซะ เจ้าลูกรัก " แดงน้อย "


รูปที่ 6 ดูเหมือน " แดงจิ๋ว " จะไม่ค่อยโตขึ้นเลยครับ


รูปที่ 7 Dyckia ML X ( Warren X Dragon Tooth ) ตัวนี้ขาวครับ ^__^

 
รูปที่ 8 Dyckia " Mist " ไม้ฟอร์มเล็กสวย กำลังแยกยอดครับ


รูปที่ 9 " Stone " งามหยด หมดจดดีครับ


รูปที่ 10 อีกมุมครับ ^__^


รูปที่ 11"  Co-co "


รูปที่ 12 " Zero Unit "


รูปที่ 13 Dyckia Hybrid Brittle Star งามแบบเปียกๆครับ


รูปที่ 14 Dyckia Hybrid Brittle Star อีกต้นครับ หนามสวย ไทรโครมดี


รูปที่ 15 ลูกผสม สามีเจนครับ อิ อิ


รูปที่ 16 Dyckia delicata cyanophylla red ต้นที่บอกว่าเก็บไว้ครับ


รูปที่ 17 บอกว่าให้งามอย่างเดียวพอ ดอกไม่ต้อง ยังมาดื้ออีก ^__^


ประมาณนี้ครับ สบายๆในค่ำคืนวันศุกร์ อันแสนสุขใจครับผม หลับฝันดีทุกๆท่านนะครับ ^__^


ยามเช้า กับน้ำค้างและสายฝน # 1


Dyckia ยามเช้า
โดย Dyckia From " Q "


เช้านี้มาแบบชุ่มฉ่ำกันหน่อยครับ เป็นรูปของเมื่อเช้าวานนี้ ด้วยความที่เห่ออยากดูไม้ที่เปลี่ยนลงกระถางใหม่
เลยลุยเข้าสวนไปถ่ายแต่เช้าครับ แต่ก็คุ้มค่าจริงๆครับ ไม้สวยเมื่ออยู่ในกระถางที่เหมาะสมแล้วมันดูดีจริงๆ

รูปที่ 1 Dyckia delicata rubra จากฟอร์มตรงนี้ ดูแล้วออกมากลมสวยแน่นอนครับ


รูปที่ 2 เมื่อเริ่มเข้าฟอร์ม ใบจะเริ่มแคบลง และหนามจะเด่นขึ้นครับ


รูปที่ 3 Dyckia delicata type form X fosteriana คู่ผสมนี้สวยแน่นอนครับ ดูที่ฟอร์มตอนนี้เอาละกันครับ


รูปที่ 4 กลมสวยครับ หนาม ไทรโครมดีด้วยครับ ความเห็นส่วนตัว หน้าตาแบบนี้ครับที่น่าเก็บ หนามสั้นหงิกๆ


รูปที่ 5 Dyckia delicata type form จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในทั้ง 3 ฟอร์ม คือ ทอง, แดงและ type งงปะ อิ อิ


รูปที่ 6 ต้นนี้ถึงจะดูใหญ่ แต่ลึกๆแล้วผมยังมั่นใจว่า จะกลับมาเข้าฟอร์มที่ควรจะเป็นได้นะครับ


รูปที่ 7 Dyckia delicata rubra ตัวนี้เนื้อใบแดง เลยเก็บไว้สังเกตุการณ์ครับ เป็นกรณีศึกษาไป


รูปที่ 8 เพราะเชื่อว่า rubra จริงๆแล้ว สีจะไม่ออกมาแดงแบบนี้ตั้งแต่ต้นครับ แต่จะค่อยๆพัฒนาไปมากกว่า


รูปที่ 9 Dyckia delicata rubra ส่วนตัวแล้ว เชื่อว่าแนวที่ใช่คือ ประมาณนี้ครับ จะค่อยๆพัฒนา


รูปที่ 10 มาลองดูกันยาวๆครับ ว่าจะเป็นแนวไหนที่ใช่ แต่ต้นนี้ สีเริ่มมา หนาม ไทรโครม ครบ


รูปที่ 11 Dyckia delicata golden form ส่วนตัวเชื่อว่าที่ใช่ น่าจะแนวประมาณนี้ครับ


รูปที่ 12 golden form จะเล็กที่สุดในทั้งหมดครับ คือประมาณขนาดใต้อุ้งมือเราดีๆนี่เองครับ


รูปที่ 13 ต้นนี้นอกเรื่องครับ ไม้ธรรมดา แต่ชอบมากๆครับ


รูปที่ 14 ดูโหดๆ ดิบๆดีครับต้นนี้


รูปที่ 15 ยังไงก็ดูดีในแนวของเค้าอะครับ ^__^


รูปที่ 16 สีจัดๆต้องต้นนี้ครับ


รูปที่ 17 หนามยาว เป็นซี่ๆ สีจัด ^__^


รูปที่ 18 เจ้ายักษ์แดง เกสรเท่าก้านไม้ขีดไฟ คัดเตอร์ไม่คมละ จบข่าว ^__^


รูปที่ 19 เริ่มปฎิบัติการ ท้องที่ 4 ติดสักดอก สองดอกก็ดีใจแล้วครับ ปีเดียวออกดอกมา 4 รอบ จะสมบูรณ์ได้ไง


ประมาณนี้ครับ บทความช่วงเย็น จะมาต่อ # 2 ครับ ถ่ายไว้เยอะ จะได้นำมาให้ชมกันให้จุใจ ^__^