วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Dyckia " Test "


" ทดลอง วิเคราะห์ "
โดย Dyckia From " Q "


วันนี้มานำเสนอ รูปแบบใหม่ๆของบทความดูบ้างนะครับ จะเป็นการวิเคราะห์ ในตัวไม้แต่ละต้น
มาลองดูกันครับ โดยจะพูดถึงลักษณะเด่น ลักษณะด้อย หรือหน้าตาที่ควรจะเป็นของไม้ตัวนั้นๆกันครับ

รูปที่ 1 Dyckia delicata type form หนามได้ครับ ลักษณะแบบนี้ไม้ได้หลุดฟอร์มนะครับ type form จะมีขนาดใหญ่ที่สุดครับ และต้นที่เห็นแค่ชั้นใบน้อยไปเท่านั้นครับ เมื่อมีชั้นใบมากขึ้นก็จะกลมสวยได้ไม่ยากครับ หนามชัดเจน


รูปที่ 2 ลักษณะใบแคบ ทรงใบเริ่มวนเป็นวงกลมแบบนี้ หนามขนาดนี้ รับรองครับ สวยได้ไม่ยาก อิ อิ


รูปที่ 3 Dyckia delicata golden form หนามใช่ สีได้ ใบแคบ ฟอร์มใบเริ่มวนเป็นวงกลมแล้วครับ เล็กครับต้นนี้


รูปที่ 4 ลักษณะแบบนี้ไม่ใช่หลุดฟอร์มนะครับ เพียงแค่ชั้นใบน้อย ฟอร์มใบเลยไม่แน่นครับ เดี๋ยวก็พัฒนาครับ


รูปที่ 5 Dyckia delicata cyanophylla จัดเป็น delicata ตัวที่มีทรงฟอร์มดีที่สุดครับ ฟอร์มจะกลมสวยได้รูป
ตัวนี้ฟอรม์จะดี หนามจะสวยตั้งแต่เด็กๆเลยครับ ที่สำคัญที่เพาะออกมา มีเพี้ยนน้อยมากๆครับ น่าเก็บมากๆ


รูปที่ 6 Dyckia delicata rubra ต้นนี้ฟอร์ม หนาม สี เริ่มมาทั้งหมดแล้วครับ ตัวนี้ เลือกฟอร์มสวยไว้จะดีกว่าครับ
เพราะ rubra จัดว่าเป็นไม้ที่เพาะออกมาแล้วเพี้ยน และมีหลากหลายหน้าตามากที่สุดครับ แต่ต้นนี้ครบครับ ^__^


รูปที่ 7 Dyckia domfelicianensis เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ hebdingii  ปกติใบจะเขียวใบกว้าง และสั้นครับ
แต่เราอาจโชคดีครับ เพาะออกมาได้เนื้อใบพื้นแดงเกือบ 90% ครับ คาดว่าสวยได้ไม่ยากเลยครับต้นนี้ ^__^


รูปที่ 8 Dyckia delicata golden form ต้นนี้จัดเป็นไม้ฟอร์มครับ หนามไม่โดดเด่น แต่ได้รูปสวยงามครับ


ประมาณนี้ครับ ลองเสนอแนะเข้ามานะครับ หรือสงสัยอะไร สอบถามมาได้ครับ ตอบได้จะตอบให้ครับผม ^__^


6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่สงสัย ไม่สอบถาม แต่อยากได้ครับ อิอิ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. วันเสาร์ บทความค่ำครับ มีนัดกัน อิ อิ

      ลบ
  2. ลุ้นให้ที่ได้ไปสวยอย่างนี้บ้างครับ

    ตอบลบ
  3. อยากดู ดิกเกีย กลุ่ม goehringii ครับทั้งตัว original กับกลุ่มลูกผสมของเค้าครับ
    ขอบคุณอาจารย์คิว ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ได้ครับผม ตั้งแต่อาทิตย์หน้าจะทะยอยทำมาลงให้ชมกันนะครับ
      แต่เรียกผม พี่ " Q " ดีกว่าครับ สบายๆ ^__^

      ลบ